วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความอิจฉาริษยา

การที่คนเรามีความอิจฉาริษยาอยู่ในหัวใจจะทำให้โลกใบนี้เกิดความวุ่นวายเสีย หายอย่างมากมาย เรียกว่าความริษยาจะนำโลกไปสู่ความหายนะได้อย่างร้ายกาจ ถ้าถามว่าแล้วมีหลักธรรมตัวไหนบ้างที่จะช่วยให้อาการอิจฉาริษยาที่อยู่ในตัว มนุษย์อย่างเราหลุดพ้นออกไปได้ คำตอบก็คือจะต้องมี “มุทิตา”
มุทิตาแปล ว่าความยินดี หรือพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คือเมื่อผู้อื่นได้รับความสำเร็จ มีความสุข ความเจริญก้าวหน้า หากทำได้ก็จะไปเหยียบความริษยาที่อยู่ในใจไม่ให้ออกมา หากเราไม่มีมุทิตาจะรู้สึกทนไม่ได้ที่เห็นคนอื่นดีกว่า ใครรวยกว่า สวยกว่า ได้ดี มีหน้ามีตากว่า ทนไม่ได้
เพราะฉะนั้นขอให้ฝึกลดความริษยาลงให้มากๆ เมื่อมันลดลงก็จะทำให้ความริษยาตายไปจากใจเรา ความริษยาถือว่าเป็นปรปักษ์กับมุทิตา ดังนั้น หากเรามีมุทิตาคือการรู้สึกยินดีกับคนอื่นที่ได้ดี ความริษยาจะฝ่อแล้วค่อยๆหายไปเอง แต่ถ้ายังไม่ฝึกแสดงความยินดีเมื่อเห็นใครได้ดีด้วยความจริงใจแล้วละก็จะทำ ให้ตัวเองต้องตายด้วยความริษยาในไม่ช้า

- เจริญพร -

ย่อมา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 5 ฉบับที่ 220 วันที่ 15-21 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หน้า 23 คอลัมน์ พระพยอมวันนี้ โดย พระพยอม กัลยาโณ

1 ความคิดเห็น:

  1. ถูกต้องนะครับ ธรรม นั้นถ้าฉลาดในความคิด ฉลาดในธรรม ที่เป็นปรปักษ์แก่กันและกัน อย่างเช่น ที่พระพยอมกล่าว คือ ความริษยา กับ มุทิตา นั้นเป็นปรปักษ์กัน ก็แก้กันได้ หรือ ความอาฆาต พยาบาท ก็ต้องแก้ด้วย การเจริญเมตตา ถ้าจะให้ดี ควารเจริญ พรหมวิหาร4 เลย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพี่ยงแต่ต้องฉลาดในการเจริญในช่วงเวลา นั้นๆ ควรใช้ ธรรมข้อไหน เท่านั้น ดังนั้นผู้ปฏิบัติธรรม หรือ เจริญธรรม นั้นต้องรู้จักหมวดธรรมที่เป็นปรปักษ์กันไว้แก้ไข จิต ของตนเอง อย่างเช่น กำลังเจริญเมตตา อยู่ แต่ ความง่วง เข้าครอบงำจิตใจ ก็ต้องใช้ ธรรมข้อ วิริยะ เข้ามาต่อกรกับความง่วง จะทำอย่างไรล่ะ ก็ต้องลุกหรือละการเจริญเมตตาจากอริยาบทนั้น มาเดินจงกรม กำหนดแผ่เมตตาด้วยการเดินจงกรม แทน อันนี้เรียกว่า รู้จักใช้ธรรมอันเป็นอริแก่กันและกันมาแก้ไข เป็นต้น....

    เจริญในธรรม ครับ

    ตอบลบ